เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal):เข้าใจกระบวนการผลิต การได้มาของผ้าและเห็นความสัมพันธ์กับวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสามารถ ออกแบบสร้างสรรค์งานผ้าให้เกิดมูลค่า หรือต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

Week3

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายขั้นตอนการย้อมเส้นไหม การทำผ้ามัดย้อมและการสืบหูก อีกทั้งยังสามารถออกแบบ วางแผนการทอผ้า อีกทั้งนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการถักทอผ้าแบบอื่นๆ ได้อย่างสร้างสรรค์

Week
Input
Process
Output
Outcome















3
22-26
ส.ค.
59














โจทย์ วางแผนและออกแบบการทอผ้า (นวัตกรรมใหม่ในการทอผ้า)

Key Questions :
-   อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้ามีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไรและจะสามารถนำอุปกรณ์ในท้องถิ่นมาใช้ทดแทนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด?
-   ถ้าไม่มีกี่ทอผ้า เราจะมีวิธีผลิตผ้าได้อย่างไรบ้าง?         

เครื่องมือคิด :
     Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการสร้างชิ้นงานจากการถัก ทอ
     Round Robin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยววิธีการทอผ้า
     Blackboard Share การทอไหมพรม
    Show and Share นำเสนอชิ้นงานการถัก ทอไหมพรม
    Wall Thinking 
-   ติดชิ้นงานสรุปการย้อมผ้ามัดย้อมด้วยสีธรรมชาติและสีเคมี
-      ติดชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
นักเรียน
- วิทยาการ (ผู้ปกครอง)
สื่อ/อุปกรณ์ :
บรรยากาศภายในห้องเรียน
- คลิปวีดีโอ “Weaving on a Cardboard Loom
- สื่อจริง ไหมพรม กระดาษแข็งเข็ม
จันทร์ 
ชง :
-      ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมการมัดย้อมในสัปดาห์ที่ผ่านมา
-      ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าการย้อมเส้นไหมกับผ้ามัดย้อมเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง?”                     
เชื่อม :
-      ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับความเหมือนและแตกต่างกันของการย้อมเส้นไหมและการมัดย้อม
-      วิทยากร (ผู้ปกครอง) อธิบายเกี่ยวกับการย้อมเส้นไหมตามลวดลายที่ได้ออกแบบไว้ (โดยใช้สีเคมี)
ใช้ : นักเรียนย้อมเส้นไหมและผ้ามัดย้อมด้วยสีเคมี

อังคาร
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด ผ้ามัดย้อมด้วยสีธรรมชาติและสีเคมีเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง คิดว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมือนและต่างกันของผ้ามัดย้อมด้วยสีธรรมชาติและสีเคมี 
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด เมื่อย้อมเส้นไหมแล้ว กระบวนการต่อไปต้องทำอะไรบ้าง มีวิธีการอย่างไร?”
เชื่อม :
-      ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนหลังจากการย้อมเส้นไหม 
-      วิทยากรอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการสืบหูก
ใช้ :
-        นักเรียนสืบหูก
-        สรุปการ์ตูนช่องการย้อมและสืบหูก
ศุกร์
ชง :
-        นักเรียนสังเกตคลิปวีดีโอ “Weaving on a Cardboard Loom”
-        นักเรียนสังเกตอุปกรณ์ กระดาษ (12X15 cm) ไหมพรม เข็ม
-        ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะนำอุปกรณ์เหล่านี้ มาทอเป็นผืนผ้า ได้อย่างบ้าง”              
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนการทอไหมพรมด้วยอุปกรณ์ดังกล่าว
ใช้ : นักเรียนลงมือปฏิบัติทอไหมพรม
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด 
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
-      “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
(Mind Mapping หรือ บรรยาย)
ชิ้นงาน
-   สรุปการย้อมผ้ามัดย้อมด้วยสีธรรมชาติและสีเคมี
-   ทอไหมพรมด้วยกระดาษ
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ (Mind Mappingหรือ บรรยาย)

ภาระงาน
-   แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการทำเส้นด้ายเป็นผืนผ้า
-   ทอไหมพรม
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายขั้นตอนการย้อมเส้นไหม การทำผ้ามัดย้อมและการสืบหูก อีกทั้งยังสามารถออกแบบ วางแผนการทอผ้า อีกทั้งนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการถักทอผ้าแบบอื่นๆ ได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ใช้อุปกรณ์การทอไหมพรมให้เป็นผ้าได้ถูกต้องตามการใช้งาน
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
สร้างทางเลือกในการทอผ้าแบบต่างๆ ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม
ออกแบบอุปกรณ์ทอผ้าเหมาะสมสร้างสรรค์และใช้งานได้จริง
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นในการเสนอสิ่งที่อยากเรียนรู้ในการทอผ้า และสร้างชิ้นงานหลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
สื่อสารอธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ

คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
เคารพตนเอง  และผู้อื่น

 ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน












 

1 ความคิดเห็น:

  1. นักเรียนค้นคว้าข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เพื่อเพิ่มเติมการเรียนรู้เรื่องเส้นใย การดูวีดีโอเกี่ยวกับเส้นใยธรรมชาติเป็นเส้นใยไผ่ และเส้นใยฝ้ายซึ่งทำมาเป็นด้ายก่อนที่จะมาทอเป็นผ้า แต่ครูไม่ได้ให้นักเรียนดูการทอผ้าในวันเดียวกัน เขาจึงยังเชื่อมโยงไปไม่ถึงกระบวนการของเส้นใยจนกลายมาเป็นผ้า แต่พวกเขาก็ได้กระบวนการหนึ่งที่เชื่อมโยงมาจากสัปดาห์ที่แล้วคือการถักไหมพรมและได้ร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้ปกครอง ซึ่งเป็นคุณแม่ของพี่โชคที่มาช่วยสอนการถักไหมพรมเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งกระเป๋าใส่เหรียญ กระเป๋าโทรศัพท์ เด็กๆสนุกกับการถักของคุณแม่ แต่พวกเขาใช้เข็มถักแบบโครเชต์ไม่ได้ เขาไม่รู้ว่าจะสอดไปด้านไหน ที่เขาทำได้ คือ ถักโดยใช้บล็อกถักผ้าพันคอ ถ้าพูดถึงนิตติ้งก็ยังยากอยู่ บางคนสามารถทำได้แค่เพียงส่วนหนึ่งแต่ไม่สามารถต่อให้จบได้ สิ่งที่ชาวยเติมเต็มให้พวกเขามากที่สุดในสัปดาห์นี้ คือการทัศนศึกษาดูงานที่ศูนย์หม่อนไหม อำเภอนางรอง เพิ่มเติมจากระบวนการได้มาของเส้นใยแล้วที่สิ้นสุดถึงการสาวไหม ในการดูงานครั้งนี้ เด็กๆได้เรียนรู้ต่อเป็นการฟอก ย้อม และทอ และเพิ่มเติมชนิดพันธุ์ไหม การเกิดผลิตภัณฑ์ต่างๆจากผ้าไหม การนำชิ้นส่วนจากหนอนไหมและหม่อนไปใช้ประโยชน์ การจัดบบรยากาศในงานโดยนำรังไหมและผีเสื้อมาจัดโชว์โดยการสตัฟท์ไว้ พี่แก้มก็เลยสงสัยว่า : ครูครับทำไมมันไม่บินครับ ครูครับมันตายแล้ว ครูครับเขาเอาเข็มมาปักไว้ พวกเขายังได้รู้จักความแตกต่างของรังไหมในประเทศไทยและต่างประเทศด้วย ซึ่งรังไหมของต่างประเทศจะหัวมนท้ายมนครูถามว่า แต่ในประเทศไทยจะ หัวแหลมท้ายแหลม ครูถามว่าลักษณะรังไหมเหมือนกับรังไหมของเราที่เลี้ยงที่โรงเรียนหรือเปล่า พี่แพรวา : ไม่คะของเราจะแหลมๆกว่า ในสุดสัปดาห์พวกเขาได้รูจักเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์มากขึ้น จากการชมวีดีโอ ที่เกี่ยวกับเส้นใยต่างๆ แต่ก็จะใช้เวลานานไม่ได้เพราะเด็กๆจะจดจ่อได้ไม่นาน
    ****จะดีกว่านี้ถ้าครูเตรียมกิจกรรม active ให้เด็กๆได้ร่วมกันทำเป็นกลุ่ม เตรียมพร้อมทั้งตัวครูและกิจกรรมมากกว่านี้

    ตอบลบ