เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal):เข้าใจกระบวนการผลิต การได้มาของผ้าและเห็นความสัมพันธ์กับวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสามารถ ออกแบบสร้างสรรค์งานผ้าให้เกิดมูลค่า หรือต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

Week5

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการทำลายปักบนผืนผ้า และยังสามารถปักหรือเพ้นท์รูปต่างๆ ลงบนผืนผ้าได้ตามต้องการ ตลอดจนเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมกับงานและตนเอง


Week
Input
Process
Output
Outcome

















5
5-9
ก.ย.
59













โจทย์ ลายปักผ้าและผ้าบาติก

Key Question :
นักเรียนจะสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าได้อย่างไรบ้าง ใช้วิธีใดบ้าง?

เครื่องมือคิด :
     Round Robin 
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยววิธีเพ้นท์ผ้า
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยววิธีปักผ้า
     Brain storms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการสร้างลายบนผ้า
     Show and Share นำเสนอชิ้นงานของตนเอง

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อ/อุปกรณ์ :
บรรยากาศภายในห้องเรียน
คลิปวีดีโอ การเพ้นท์และชั้นเรียนปักผ้าทันใจ
สื่อจริง เข็ม ด้าย สะดึง
สีอะครีลิค
จันทร์ 
ชง : นักเรียนดูคลิปวีดีโอ การเพ้นท์ผ้าและชั้นเรียนปักผ้าทันใจครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไร ทำเพื่ออะไร และนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิปวีดีโอนี้
ชง : ชมคลิป “การทำผ้าบาติก”
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- นักเรียนจะมีวิธีการออกแบบลายผ้าอย่างไรบ้าง?”      
- นักเรียนจะออกแบบลายผ้าอย่างไรให้น่าสนใจ และสร้างสรรค์?”              
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการทำให้ผ้าเกิดลวดลาย
ใช้ : นักเรียนออกแบบลวดลายลงบนเสื้อหรือผ้า และเพ้นท์ลวดลาย
*การทำผ้าบาติก อาจจะต้องใช้เวลานาน นักเรียนอาจจะทำในเวลาว่าง
( กิจกรรมคู่ขนาน ทอผ้าไหม )    
      
อังคาร 
เชื่อม : วิทยากร (ผู้ปกครอง) สร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับการปักผ้าลายต่างๆ วิธีการเนา ด้นถอยหลัง ลูกโซ่
ใช้ : นักเรียนออกแบบลวดลายลงเสื้อหรือบนผ้า ลงมือปักลวดลายบนผ้า        
ศุกร์
ชง :
-        นักเรียนนำเสนอชิ้นงานของตนเองให้ครูและเพื่อนๆ ฟัง
-        ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด จากชิ้นงานของแต่ละคน สิ่งไหนทำดีแล้ว และควรเพิ่มเติมอะไรบ้าง อย่างไร”?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ทำดีแล้ว และควรเพิ่มเติม
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด 
-      “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
-      “นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้
ชิ้นงาน
- เพ้นท์สีอะครีลิค
- งานปักผ้า (ปักแบบด้นถอยหลัง ลูกโซ่ เนาเท่ากัน เนาไม่เท่ากัน)
-ผ้าบาติกจากสีธรรมชาติ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
-    สนทนาแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการปักบนผืนผ้า
-   ออกแบบลายปักผ้าและลงมือปักผ้า
-การทำผ้าบาติก
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการทำลายปักบนผืนผ้า และยังสามารถปักหรือเพ้นท์รูปต่างๆ ลงบนผืนผ้าได้ตามต้องการ ตลอดจนเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมกับงานและตนเอง

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ใช้อุปกรณ์การปักผ้า เพ้นท์ผ้าได้ถูกต้องตามการใช้งาน
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
สร้างทางเลือกในการทำลายผ้าได้อย่างหลากหลาย
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม
ออกแบบลายผ้าเหมาะสมสร้างสรรค์และใช้งานได้จริง
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นในการเสนอสิ่งที่อยากเรียนรู้ในการสร้างชิ้นงานหลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
สื่อสารอธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
เคารพตนเอง  และผู้อื่น


ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน












1 ความคิดเห็น:

  1. "นักเรียนจะออกแบบเสื้อผ้าจากผ้าเพียงขิ้นเดียวอย่างไร" โจทย์สำหรับสัปดาห์นี้พี่ๆต้องหาวิธีตักเย็บเสื้อผ้าโดยไม่ให้ผ้าขาดออกจากกัน เมื่อกางออกจะยังเป็นผ้าชิ้นเดียวกัน กระบวนการทำงานเป็นการทำงานเป็นทีม ซึ่งได้มาจากการจับฉลาก ก่อนที่พี่ๆจะได้ออกแบบพี่ๆเรียนรู้การเย็บผ้า เรียนรู้การทำแบบจากกระดาษ เรียนรู้ในเรื่องของการวัดที่จะนำไปใช้ในการตัดเย็บ แต่ละกลุ่มเริ่มต้นจากการทำโมเดลชุดเล็กๆเมื่อโมเดลผ่านแต่ละกลุ่มก็ขยายโมเดลชุดนั้นเป็นแบบกระดาษขนาดเท่าจริงซึ่งพี่ๆแต่ละกลุ่มเลือกผู้ที่จะสวมชุดเองว่าใครจะเป็นผู้ใส่ชุดนั้น ซึ่งมาจากการอาสาของสมาชิกในทีม จากกระบวนการทำงานเห็นพี่ๆสนุกสนาน เห็นวิธีการแก้ปัญหาเช่น พี่เมฆ : ครูผมจะทำให้เย็บนิดเดียว ทำอย่างนี้ได้ไหมครู/พี่โชค : ครูครับกลุ่มพวกผมมีผ้าเหลือ ตกแต่งเป็นกระเป๋าเพิ่มเติมได้ไหมครู พี่ปายเล็กกำลังเย็บครับ / กลุ่มพี่ออย ; ครูครับ/ครูขา ให้พี่ออยใส่ชุดนี้ได้ไหมครูพี่ออยอาสา(ชุดกระโปรง) ...กระบวนการทำงานเป็นทีมที่ทุกคนต่างช่วยเหลือและทำหน้าที่ของตนตามที่รับมอบหมาย ช่วยกันคิด ช่วยกันหาวิธี เป็นการเรียนรู้ร่วมกันใครถนัดเย็บก็เย็บ ใครถนัดออกแบบ ถนัดการตัด ฯลฯ ก็ทำและผ้าที่นำมาตัดเย็บส่วนหนึ่งก็เป็นผ้าที่พี่ๆมัดย้อมขึ้นเอง....ครูครับ/ครูขา เราจะได้ทำชุดของตัวเองไหมคะ...อยากทำน่ะครู..

    ตอบลบ