เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal):เข้าใจกระบวนการผลิต การได้มาของผ้าและเห็นความสัมพันธ์กับวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสามารถ ออกแบบสร้างสรรค์งานผ้าให้เกิดมูลค่า หรือต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

Week4


เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากงานผ้า มาประยุกต์ใช้ในการตกแต่งเสื้อผ้าโดยวัสดุอุปกรณ์ที่หลายหลากตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome













4

29 ส.ค.
-
2 ก.ย.
59
โจทย์ งานประดิษฐ์จากผ้า


Key Question :
นักเรียนมีวิธีสร้างชิ้นงานจากผ้าให้มีประโยชน์และคุณค่าได้อย่างไรบ้าง?
                                     
เครื่องมือคิด :
Brain Storms
ระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการเนาและการด้นถอยหลัง
  - ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการประดิษฐ์ชิ้นงานจากผ้า
  - ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการออกแบบและตัดเย็บ
- Show and Share
นำเสนอชิ้น

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
ครู
นักเรียน
ผู้ปกครอง
สื่อ/อุปกรณ์ :
บรรยากาศภายในห้องเรียน
อุปกรณ์การเนา เข็ม
อุปกรณ์การตัดเย็บ
จันทร์ 
ชง :
  -ครูสาธิตการเนาและการด้นถอยหลัง
ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างการเนากับการด้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับวิธีการเนาและการด้นถอยหลัง
ครูสาธิตวิธีการเนาและการด้นถอยหลังให้นักเรียนสังเกตอีกครั้ง
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการเนาและด้นถอยถอยหลัง
ใช้ : นักเรียนเย็บแบบเนาและการด้นถอยหลังลงบนกระดาษ
อังคาร 
ชง :
 - ครูและนักเรียนทบทวนกระบวนการเย็บผ้าในรูปแบบต่างๆ
 - ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิดนักเรียนคิดว่าการเย็บแบบเนาและการเย็บแบบด้นถอยหลังแบบใดแข็งแรงกว่าเพราะอะไร
เชื่อม :
 - ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเย็บแบบเนาหรือว่าด้นถอยหลังแบบใหนแข็งแรงกว่ากัน
ชง :
นักเรียนสังเกตผ้ากันเปื้อน ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไร เกี่ยวข้องกับใครบ้างนักเรียนจะออกแบบผ้ากันเปื้อนได้อย่างไร
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเกี่ยวกับการออกแบบผ้ากันเปื้อน
วิทยากร(ผู้ปกครอง)ร่วมการสร้างเรียนรู้การออกแบบผ้ากันเปื้อนและการเย็บผ้ากันเปื้อนเพิ่มเติม
ใช้ : นักเรียนออกแบบผ้ากันเปื้อนและเย็บผ้ากันเปื้อน
ศุกร์
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด 
-      นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-       “นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ :
นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้ผ่าน การ์ตูนช่อง
นักเรียนเย็บผ้ากันเปื้อน(ต่อ)
ชิ้นงาน
ผ้ากันเปื้อน
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
ออกแบบการตัดเย็บผ้ากันเปื้อน
ความรู้
สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากงานผ้า มาประยุกต์ใช้ในการตกแต่งเสื้อผ้าโดยวัสดุอุปกรณ์ที่หลายหลากตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ใช้อุปกรณ์ในการเย็บได้ถูกต้องตามการใช้งาน
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
สร้างทางเลือกในการออกแบบตัดเย็บได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
-คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นในการเสนอสิ่งที่อยากเรียนรู้ในออกแบบตัดเย็บ และสร้างชิ้นงานที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นในการเสนอแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
เคารพตนเอง  และผู้อื่น


ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน

















2 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆป.3เรียนรู้ผ่านกิจกรรมผ้าบาติกกระบวนการวิทยาศาสตร์ในเรื่องของการสกัดสีจากวัสดุธรรมชาติ
    เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและมองเห็นประโยชน์จากวัสดุในท้องถิ่น
    เรียนรู้วัฒนธรรมในเรื่องผ้าของภาคใต้ผ่านกระบวนการทำผ้าบาติกที่แสดงออกผ่านลวดลายผ้าและสีย้อมจากธรรมชาติซึ่งสีที่ได้บางส่วนมาจากพันธุ์ไม้ประจำถิ่น
    ใช้สมาธิจดจ่อกับการทำงานร่างแบบลวดลาย การเขียนเทียนและฝึกระเบียบวินัย ในการทำงานเป็นขั้นตอนถ้ายังร่างแบบไม่เสร็จก็ยังไม่สามารถลงเทียนได้ ถ้ายังไม่ลงเทียนก็ระบายสีไม่ได้
    เรียนรู้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ห่วงใยความปลอดภัยของตนเอง ใช้สิ่งของธรรมชาติ
    ร่วมกันคิดวิเคราะห์ผ่านปัญหาที่เกิดขึ้น ปัญหาที่พบ สีธรรมชาติเมื่อนำมาระบายผ้าไม่ติดสี เพราะไม่มีสารยึดเกาะ
    จะดีกว่านี้ถ้าสามารถทำให้เด็กๆเกิดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมactive ที่พวกเขาชอบ รู้ทฤษฎีความรู้ในขณะนั้นด้วยตัวเอง หรือที่เรียกว่าองค์ความรู้ที่ค้นพบด้วยตนเองและครูต้องฝึกตนเอง

    ตอบลบ
  2. สัปดาห์นี้นักเรียนได้ทำผ้าบาติก เราใช้สีจากธรรมชาติ หาได้ในท้องถิ่น บางคนได้ขมิ้น ได้เปลือกพะยอม ได้ดอกอัญชัน ใบเตย ใบหูกวาง ต้นฝาง พี่ๆคิดว่าใบไม้ใบนี้น่าจะให้สีอะไรคะ"...ใบอะไรครับ/คะ " .."ใบมังคุดค่ะ" ...พี่ปั๊ปสีเขียวอ่อน เพราะใบมันสีเขียว พี่โชค : สีเขียวครับ เพราะใบนี้สีเขียว พี่ใบตอง : สีเหลืองค่ะเพราะหนูเห็นใต้ใบมีสีเหลืองๆ พี่แก้ม: น่าจะเป็นสีม่วงครับเพราะมังคุดลูกสีม่วง น่าจะสีเหมือนลูกมันครับ...หลังจากต้มไปสองวันพี่ๆเริ่มเห็นสี และหลังจากนั้นเราได้แลกเปลี่ยนเรื่องการเกิดสี " ทำไมสีเขียวที่เราเห็นเมื่อต้มจึงเป็นสีอื่น"...เมื่อวานต้มสี ออกแบบลาย วันนี้เขียนเทียน..."ครูครับแล้วเราจะลงสียังไงล่ะครับ"....เรียนรู้จากการปฏิบัติ ...พรุ่งนี้เรียนรู้การลงสี ใช้สีธรรมชาติที่เตรียมไว้แล้ว.."ครูครับเราเอาน้ำขี้เถ้ามาผสมให้สีติด มันจะไม่เป็นสีเทาเหรอครับ"....
    เมื่อนักเรียนต้มผ้าเพื่อเอาเทียนออก พี่หยิน “ครูขาผ้าอย่างขาวสะอาดเลยค่ะ สีไม่ติดเลยค่ะครู
    พี่ปัณ : เราไม่ได้ใช้ โซเดียมซิลิเกรตครับ
    พี่โชค : เราต้องต้มนานๆครับเหมือนที่เราดูเขาต้มในหม้อใหญ่ๆและใช้เวลานานครับ
    แม้การทำผ้าบาติกด้วยสีธรรมชาติจะไม่สำเร็จแต่นักเรียนได้เรียนรู้และได้ลงมือทำ และเห็นปัญหาร่วมกัน ทั้งยังได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่เรียนรู้และพยายามหาวิธีแก้ไขซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนทุกคนมีความพยายามและอยากเรียนรู้ กระตือรือร้นอยากทำงาน สามารถเรียนรู้และแลกเปลี่ยนกันและกัน จะดีกว่านี้ถ้านักเรียนได้มีโอกาสในการทำผ้าบาติกอีกรอบในสัปดาห์นี้ แต่เนื่องจากสีที่ต้มไว้ยังไม่ถึงกำหนดวัน(ให้ครบ10วันเพื่อพิสูจน์การติดและการออกของสีที่ชัดเจน)แต่ทั้งนี้กิจกรรมนี้จะยังต้องช่วยกันแก้ปัญหาและหาวิธีการต่อไป

    ตอบลบ