เป้าหมาย (Understanding Goal):

เป้าหมาย (Understanding Goal):เข้าใจกระบวนการผลิต การได้มาของผ้าและเห็นความสัมพันธ์กับวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสามารถ ออกแบบสร้างสรรค์งานผ้าให้เกิดมูลค่า หรือต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

Week7

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนมองเห็นคุณค่าของเศษผ้าเหลือใช้ สามารถนำมาสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้เป็นของใช้ หรือสินค้าที่จำหน่ายได้

Week
Input
Process
Output
Outcome











7
19-23
ก.ย.
59














โจทย์ การเพิ่มมูลค่าจากผ้าเหลือใช้

Key Question :
นักเรียนจะมีวิธีการเพิ่มมูลค่าจากเศษผ้าที่มีอยู่แต่ละชนิดอย่างไรได้บ้าง?

เครื่องมือคิด :
- Brainstorms
- Blackboard Share
- Show and Share
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
 - ครู
 - นักเรียน
- ผู้ปกครอง

สื่อ/อุปกรณ์ :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- สื่อจริง เศษผ้า กระสอบ
จันทร์

ชง : นักเรียนดูคลิปวีดีโอ เพื่อนคู่คิด ตอน สร้างมูลค่าเศษผ้าเหลือทิ้ง สู่ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไร ได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”

เชื่อม :
-   ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิปวีดีโอ 
-    วิทยากร ( ผู้ปกครอง ) สร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างชิ้นงานจากเศษผ้าเหลือใช้ 
ใช้ : นักเรียนเลือกประดิษฐ์ชิ้นงานจากเศษผ้าเหลือใช้ ตามความสนใจ เช่น โบว์  สมุดทำมือ ที่คาดผม กระเป๋า  เบาะรองนั่ง  พรมเช็ดเท้า
(กิจกรรมคู่ขนาน ทอผ้าไหม)      
    
อังคาร 
ใช้ : นักเรียนประดิษฐ์ชิ้นงานจากเศษผ้าเหลือใช้ต่อจากวันจันทร์
        
ศุกร์
ชง :
-        นักเรียนนำเสนอชิ้นงานของตนเองให้ครูและเพื่อนๆ ฟัง
-        ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด จากชิ้นงานของแต่ละคน สิ่งไหนทำดีแล้ว และควรเพิ่มเติมอะไรบ้าง อย่างไร”?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ทำดีแล้ว และควรเพิ่มเติม
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด 
-      นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-      นักเรียนเจอปัญหาหรือไม่/มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร?” 
-      นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์นี้

หมายเหตุ วันเสาร์ นักเรียนไปทัศนศึกษาที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อดูการทอผ้าไหม
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง เพราะอะไร
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากรู้ในการเดินทางไปทัศนศึกษาที่จังหวัดสุรินทร์
ชิ้นงาน
-   ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้า เช่น  โบว์  
สมุดทำมือ ที่คาดผม กระเป๋า  เบาะรองนั่ง  พรมเช็ดเท้า
-   สรุปบรรยายความรู้ที่ได้จากการทัศนศึกษา
-   สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษผ้าที่มีอยู่
ร่วมกันวางแผนการเพิ่มมูลค่าเป็นชิ้นงานต่างๆ
-    ตั้งคำถามสิ่งที่อยากรู้ก่อนไปทัศนศึกษา
ความรู้
มองเห็นคุณค่าของเศษผ้าเหลือใช้ สามารถนำมาสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้เป็นของใช้ หรือสินค้าที่จำหน่ายได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ใช้อุปกรณ์การประดิษฐ์ชิ้นงานจากเศษผ้าเหลือใช้ได้ถูกต้องตามการใช้งาน
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
สร้างทางเลือกในการประดิษฐ์ชิ้นงานจากเศษผ้าเหลือใช้ได้อย่างหลากหลาย
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม
- ออกแบบลายผ้าเหมาะสมสร้างสรรค์และใช้งานได้จริง
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นในการเสนอสิ่งที่อยากเรียนรู้ในการสร้างชิ้นงานหลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
สื่อสารอธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ

คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่ม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เคารพตนเอง  และผู้อื่น


 ตัวอย่างกิจกรรมและภาพชิ้นงาน











































1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆป.3ได้ใช้ความรู้และทักษะในการออกแบบและตัดเย็บเสื้อผ้าในการทำแบบเสื้อหรือกระโปรงของตนเองซึ่งเห็นความพยายามและรับผิดชอบในการทำงานของพวกเขา บางคนเลือกทำเสื้อ บางคนเลือกทำกระโปรงซึ่งหลังจากตัดเย็บเสร็จแล้ว ก็ได้นำไปย้อมสีธรรมชาติ พาออกนอกห้องเรียนซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกที่เสื้อตัดเย็บเสร็จแล้วพร้อมย้อมจะได้ทำการย้อมก่อน ส่วนอีกกลุุ่มที่นังไม่พร้อมก็ให้เย็บเสื้อให้เสร็จและในกลุ่มที่ทำงานอยู่ในห้องนี้มีคนไม่ได้เอาชิ้นงานการเย็บเสื้อของตนเองมา จึงไก้เย็บโบว์คนละ 5 อัน ซึ่งเขาได้ใช้การเย็บด้นถอยหลัง ได้ชิ้นงานที่จะสร้างรายได้เป็นชิ้นงานประจำห้อง ก่อนจะเริ่มจะมีคำถามมาก่อนว่า "ครู ทำยังไงคะ/ครับ"แล้วพอเร่มทำได้ก็จะตั้งใจอยู่กับชิ้นงานของตนเอง พอเวลาผ่านไปสักพักหนึ่งก็จะมีเสียงตามมาอีก "ครูคะ เย็บผิด" ครูจึงต้องช่วยแก้ไข บางคนเริ่มเย็บแต่ไม่ได้กลับผ้า ซึ่งต้องเย็บด้านในแล้วพอเย็บใกล้เสร็จต้องเหลือช่องไว้กลับผ้าด้วย ก็ต้องแก้ไข ในความคิดของครูก็กลัวว่าเขาจะถอดใจไปซะก่อนเพราะเวลาผ่านไปเยอะเขาก็ยังทำไม่เสร็จสักอัน แต่ก็ต้องชื่นชมในความมุ่งมั่นของเขาที่ทำได้จนเสร็จ พอมีคนทำเสร็จหนึ่งอัน หลายคนที่เหลือก็จะพยายามมากขึ้น หลายคนก็เย็บเกือบจะเสร็จแต่เวลาก็หมดก่อนแล้วฝีมือการเย็บของพวกเขาก็ต้องให้ครูช่วยแก้ไขด้วยเพราะมีบางทีเย็บไม่ตรงชายผ้าก็หลุดลุ่ยออก บางคน เพื่อนได้เริ่มเย็บแล้วแต่ตัวเองยังร้อยด้ายไม่เสร็จ ขนาดว่าเด็กแค่ 6 คนยังดูไม่ทั่วถึงเพราะระหว่างที่ทำงานไปทุกคนก็เจอปัญหาที่แตกต่างกัน นอกจากปัญหาร้อยด้ายไม่เข้ารูเข็ม ก็ยังมีปัญหามัดปมด้ายไม่เป็น ซึ่งต้องค่อยๆฝึกพวกเขาไป แล้วมีบางคนที่ค่อนข้างชอบงาด้านนี้ เวลาที่เห็นครูเย็บโบว์ หรือเย็บดอกไม้อยู่ ก็จะอยากทำ และขอทำด้วย แต่ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ เขาไม่ค่อยมีเวลาเหลือ เพราะทำงานเสร็จช้า งานค้างก็เยอะ ซึ่งทำให้เสียโอกาสในการเรียนรู้และทำงานอย่างอื่น ความจริงถ้าเขามีเวลาว่างเขาสามารถเอาชิ้นงานประดิษฐ์จากเศษผ้าไปขาย ไปหาลูกค้าได้ และมีเวลาในการผลิตชิ้นงานมากขึ้น เพราะเขาต้องสร้างมูลค่าสร้างรายได้ด้วย สัปดาห์นี้มีกิจกรรมเพิ่มเติมคือ พวกเขาได้ออกแบบหุ่น และแต่งกายหุ่นให้เหมาะสมกับโจทย์ที่ครูให้ เหมาะสมกับทั้งรูปร่างและโอกาส ซึ่งก็มีปัญหาในเรื่องการแบ่งกลุ่ม ครั้งนี้ครูใช้วิธีการจับสลาก บางคนก็บอกไม่อยากอยู่กับเพื่อนคนนี้ อยู่กับเพื่อนคนอื่นจะทำงานได้ดีกว่า แต่ครูก็อยากให้เขาได้ทำงานร่วมกับเพื่อนคนอื่นที่ไม่ใช่คนเดิม อยากให้ช่วยกันทุกคน ในที่สุดเขาก็ต้องช่วยกันทำงาน
    *จะดีกว่านี้ถ้าครูมีเทคนิคในการแบ่งกลุ่มทำงานเพื่อให้ได้กลุ่มที่เหมาะสมช่วยกันทำงาน ไม่เล่น และทุกคนสามารถร่วมกันทำงานได้ และครูสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เขาอยากทำงานและให้งานออกมามีคุณภาพ

    ตอบลบ